ศักยภาพและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรประเภทลิกโนเซลลูโลสเพื่อผลิตแก๊สชีวภาพ
Abstract
สืบเนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกนำไปสู่ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันจึงต้องแสวงหาพลังงานทดแทนมากขึ้นซึ่งวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรประเภทลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulose) ที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินเป็นองค์ประกอบหลัก จึงได้รับความสนใจนำมาประยุกต์เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อผลิตแก๊สชีวภาพ (Biogas) บทความนี้จึงนำเสนอศักยภาพและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลืองทางการเกษตรประเภทลิกโนเซลลูโลสเพื่อผลิตเป็นแก๊สชีวภาพซึ่งได้จากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ โดยเชื้อจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) ตลอดจนกระบวนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการผลิตแก๊สชีวภาพอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
The effects of economic growth and world population increment lead to increase energy demand. Currently, the alternative energy process should be sought. Lignocellulosic agricultural wastes containing cellulose, hemicellulose and lignin are interesting to apply as carbon sources for biogas production. Therefore, this article purposes to highlight the biogas production. In addition, these abbreviations of organic matter digestion operated by anaerobic bacteria and its optimum production process are extremely useful to conduct the sustainable biogas production in the future.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
Copyright (c) 2018 วารสารวิชาการปทุมวัน
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 833 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร 02-104-9099