ประสบการณ์ในการสร้างและทดสอบเครื่องผลิตน้ำแข็งที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบดูดซับจากพลังงานแสงอาทิตย์

มานพ พิพัฒหัตถกุล, จารุณี เข็มพิลา, ธราพงษ์ โคตรแปร

Abstract


โครงงานนี้เป็นการศึกษาการสร้างและทดสอบการทำงานของเครื่องทำน้ำแข็งที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบดูดซับจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ประกอบด้วย 6 อุปกรณ์หลัก คือ เครื่องดูดซับ-ท่อเจนเนอเรเตอร์ ถังพักสารทำความเย็น เครื่องควบแน่นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ วาล์วลดความดัน เครื่องทำระเหย และแผงรับรังสีอาทิตย์เป็นแบบรางพาราโบลิก โดยใช้แอมโมเนีย(สารทำความเย็น) และแคลเซียมคลอไรด์(ตัวดูดซับ) เป็นคู่สารทำงานและใช้โคมหลอดทังสเตนฮาโลเจน 1,500 Watt เป็นแหล่งความร้อนเนื่องจากเป็นการทดลองในฤดูฝน วัฏจักรการทำงานของระบบมี 2 ขั้นตอนคือขั้นตอนการผลิตแอมโมเนียเหลวและขั้นตอนการทำความเย็น

จากการศึกษาความสัมพันธ์ของความดันและอุณหภูมิที่เกี่ยวข้องพบว่า ในขั้นตอนการผลิตแอมโมเนียเหลวนั้น เมื่อไอแอมโมเนียมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงช่วง 45-50°C ทำให้ความดันในระบบมีค่าประมาณ 20 barg ซึ่งมีผลทำให้ไอแอมโมเนียเริ่มควบแน่นที่เครื่องควบแน่นได้เป็นแอมโมเนียเหลวเก็บไว้ที่ถังพักความดัน ซึ่งอุณหภูมิและความดันเฉลี่ยของการควบแน่นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.4°C และ 11.4 barg ตามลำดับ ส่วนขั้นตอนการทำความเย็นนั้น เริ่มจากฉีดแอมโมเนียเหลวที่ผลิตได้ผ่านวาล์วลดความดันเพื่อไปดูดซับความร้อนจากน้ำและอากาศภายในเครื่องทำระเหย ซึ่งเครื่องต้นแบบสามารถลดอุณหภูมิของน้ำได้ต่ำสุดที่ 9.0°C เพื่อการพัฒนาระบบควรศึกษาในเรื่อง การลดจำนวนคอยล์และขนาดเครื่องทำระเหย เพิ่มปริมาณสารทำความเย็นในระบบ หรือทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายในเครื่องทำระเหย อาจช่วยให้เกิดเป็นน้ำแข็งได้


Keywords


ระบบทำความเย็นแบบดูดซับ; เครื่องทำน้ำแข็งพลังงานแสงอาทิตย์; เทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Copyright (c) 2018 วารสารวิชาการปทุมวัน

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 833 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร 02-104-9099