การศึกษาอิทธิพลกระแสเชื่อมอาร์กทังสะเตนแก๊สคลุมต่อสมบัติของรอยต่อระหว่างท่อเหล็กกล้าไร้สนิม AISI304 และ AISI316L
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลกระแสเชื่อมอาร์กทังสะเตนแก๊สคลุมที่มีผลต่อสมบัติของรอยต่อของท่อเหล็กกล้าไร้สนิม AISI304 และ AISI316L และโลหะเติม ER309LSi โดยทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเชื่อมและสมบัติของรอยต่อ ตัวแปรการเชื่อมในการศึกษานี้ถูกทำการศึกษาเพื่อหาค่าความแข็งแรงดึง โครงสร้างมหภาค และความแข็ง ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ รอยต่อระหว่างท่อเหล็กกล้าไร้สนิม AISI304 และ AISI316L ถูกทำการเชื่อมและได้รอยต่อสมบูรณ์เมื่อใช้กระแสเชื่อม 100-160 A การเพิ่มกระแสเชื่อมส่งผลทำให้ความแข็งแรงดึงและการยืดตัวของรอยต่อเพิ่มขึ้น และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าความแข็งของโลหะเชื่อม ความแข็งแรงดึงและการยืดตัวสูงสุดมีค่าเท่ากับ 609 MPa และ 58% เมื่อใช้กระแสเชื่อม 140 A ในการเชื่อมรอยต่อ การฉีกขาดของชิ้นทดสอบความแข็งแรงดึงที่แสดงโลหะเชื่อมสมบูรณ์เกิดขึ้นในพื้นที่โลหะเชื่อมเนื่องจากความแข็งสูงและการลดขนาดพื้นที่หน้าตัดของโลหะเชื่อม ขณะที่รอยต่อที่ไม่สมบูรณ์การฉีกขาดเกิดขึ้นที่กึ่งกลางของโลหะเชื่อมตำแหน่งแนวรอยต่อ
A Study on Effect of GTAW Current on the Properties of the AISI304 and AISI316L Stainless Steel Tube Joint Properties
Abstract
This research aimed to study an effect of GTAW current on a tube butt joint Properties of AISI304 and AISI316L stainless steel using ER309LSi filler metal. A relation of the welding current and the joint properties was systematically investigated. The welding parameters in this study were studied for tensile strength, macrostructure, and hardness was investigated and analyzed. The summarized results were as follows. The tube joint of AISI304 and AISI316Lwas successfully welded by GTAW and was reached a sound joint when the welding current of 100-160 A was applied. Increasing the welding current resulted in an increase in tensile strength and elongation of the weld joint and hardness of the weld metal. The maximum tensile strength and the elongation of 609 MPa and 58% were found when the welding current of 140 A was applied to weld the butt joint. The fracture location of the tensile strength specimen that showed a sound weld metal was at the weld metal area because of the higher hardness and the reduction of the cross section of the weld metal. While the fracture location of the joint that showed incomplete weld metal was found at the center of the weld metal.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการปทุมวัน Pathumwan Academic Journal
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 833 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร 02-104-9099