ระบบการศึกษาไทยกับรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

ปริศนา เพชระบูรณิน

Abstract


สังคมในปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ในด้านการสร้างความได้เปรียบในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าการศึกษาของประเทศไทยจะมีจุดแข็งอยู่หลายด้าน เช่น การมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่เป็นหนึ่งเดียวกันช่วยให้สามารถดำเนินการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และมีลักษณะการบริหารแบบกระจายอำนาจ ช่วยทำให้การดำเนินงานในแต่ละท้องที่มีความคล่องตัว แต่การศึกษาไทยยังต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิใช่ปัญหาด้านการคลาดแคลนทรัพยากรหรืองบประมาณ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีการทุ่มงบประมาณไปในเรื่องการศึกษาในระดับที่สูงกว่าประเทศข้างเคียง และที่เด็กไทยมีชั่วโมงการเรียนสูงกว่าประเทศข้างเคียง  แต่ผลการสอบวัดคะแนน PISA และ TIMSS ของเด็กไทยโดยเฉลี่ยก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงเท่าที่ควร ฉะนั้นปัญหาที่แท้จริงของระบบการศึกษาไทยจึงเป็นเรื่องของการขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรในระบบการศึกษาของทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง การเริ่มการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยจึงควรเริ่มต้นที่การสร้างความรู้สึกรับผิดชอบบุคลากรในสถาบันและควรมุ่งเอาความต้องการและศักยภาพของนักเรียนเป็นที่ตั้งไม่ใช่เอาความต้องการของสถานศึกษาเป็นที่ตั้ง  แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการศึกษาไทยอย่างยั่งยืนเท่านั้น เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างบูรณาการจากทุกภาคส่วน อีกทั้งการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เปิดกว้าง กว้างขวาง สามารถนำไปสู่การพัฒนาบุคคลากรทั้งจากในองค์กร และนักเรียนได้อย่างเต็มตามศักยภาพและต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด

Keywords


ระบบการศึกษาไทย

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Copyright (c) 2018 วารสารวิชาการปทุมวัน

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 833 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร 02-104-9099