ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของภาครัฐและภาคเอกชนที่ส่งผลต่อการบริหารงานองค์การ

จิดาภา จันทะบุรี, ศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของภาครัฐและภาคเอกชนที่ส่งผลต่อการบริหารงานองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บังคับบัญชาของภาครัฐ ผู้บังคับบัญชาของภาคเอกชน ที่มีลูกน้องตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จำนวน 740 ชุด โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ไคสแควร์ (Chi-square) ซึ่งใช้ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรแถวตั้งและแถวนอนว่าสัมพันธ์กัน จากผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของภาครัฐมีบทบาทมากกว่าภาคเอกชน ในหัวข้อ ‘ฉันใช้รูปแบบการนำ และการทำงาน ที่ถนัดที่สุดกับพนักงานของฉัน’ โดยพบว่า ภาครัฐมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 3.05 ภาคเอกชนมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 2.93 ในส่วนหัวข้อ ‘ฉันส่งเสริมให้พนักงานได้สร้างและคิดสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในงาน’ ภาครัฐมีระดับค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าภาคเอกชน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 3.06  ในขณะที่ภาคเอกชนมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 2.91 และสำหรับหัวข้อคำถาม ‘ฉันพิจารณาลักษณะของพนักงานเป็นรายๆ ในการเลือกใช้วิธีการทำงานร่วมให้เหมาะสม’ ภาครัฐมีระดับค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ซึ่งมากกว่าภาคเอกชนที่มีระดับคะแนนเฉลี่ย 3.03  งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า ผู้นำของภาครัฐถึงแม้จะต้องทำงานภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่กำหนด แต่ภาวะผู้นำก็มีรูปแบบการนำและการทำงานของลูกน้องหรือผู้ตามมอบหมายงานให้กับพนักงานที่มีความถนัดต่อการทำงานที่สุด และยังส่งเสริมให้พนักงานได้สร้างสรรค์ผลงานและนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ โดยไม่ได้ปิดกั้น  ผู้นำภาครัฐสามารถเลือกใช้วิธีการทำงานตามลักษณะของพนักงานให้ทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

The objective of this research is to study the situational leadership for government section and private section affecting on the organization management. The samples are the 740 of leaders, who have more than one subordinate, for both of the government sector and private sector. The questionnaire is used as the tool for collecting data. The calculations of statistics include percentage and Chi-square using for the relation test of column and row variables. The results showed that the leaders of government sector have the role in the topic of ‘I use the most experienced way with my personnel’ more than that of private sector that the average scores for government sector and private sector were 3.05 and 2.93, respectively. In the topic of ‘I support the personnel to improve their job creation,’ the average score of 3.09 for government sector was more than that of 2.91 for private sector.  In the topic of “I consider the personal characteristics for choosing the suitable team work,’ the 3.18 of average score for government sector was more than 3.03 for private sector. It can be concluded that although the leaders of the government sector work under many specified rule and law, their leaderships appear the higher score more than the leaderships of the private sector for working pattern. The leaders of the government sector consider the subordinate’s ability to assign the appropriate task and also support the subordinate’s creative thinking. The leaders make a decision to choose the suitable method as the individual subordinate’s character for achieving the teamwork.


Keywords


ภาวะผู้นำ; ผู้นำเชิงสถานการณ์; ภาครัฐ; ภาคเอกชน; Leadership; situational leadership; government sector; private sector

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Copyright (c) 2018 วารสารวิชาการปทุมวัน

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 833 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร 02-104-9099