บทวิเคราะห์นโยบายการบริหารการจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการสารสนเทศของฝ่ายพัฒนาธุรกิจสารสนเทศและสื่อสาร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารของ กฟภ. ระยะที่ 3 พ.ศ. 2556 – 2560 เพื่อการพัฒนาบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างดีเลิศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และสอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาลขององค์กรโดยทำการศึกษานโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนงานด้านการจัดการสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนการดำเนินงาน กำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ 4 ประเด็น คือ 1) นโยบายสารสนเทศ แผนการจัดการสารสนเทศ และการบริหารจัดการองค์กรสารสนเทศ 2) การใช้สารสนเทศ ความต้องการและพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ 3) การจัดการความรู้ และ 4) แนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมสารสนเทศ พบว่าแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ กฟภ.ได้มีการบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ที่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายขององค์กร อีกทั้งมีนโยบายในการมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรที่เน้นการพัฒนาสังคมฐานความรู้ โดยมีบุคลากรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน เน้นการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางปัญญา สร้างความผูกพันที่ดีระหว่างบุคลากรและองค์กร และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์กรให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่ความสำเร็จด้านการเงิน การดูแลลูกค้า และการรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
The objective of this article is to analyze the information management policy of Department Business Development Information and Communication Technology, Provincial Electricity Authority (PEA), which defines the information technology master plan of PEA in Phase 3 from 2556 to 2560 in order to develop their ICT services. This master plan supports the strategy driving with good governance in the organization. This study focuses on the policy, strategy planning, program in management of information technology and operational plans that defines the issues in the analysis for 4 issues: 1) information policy, information management plan and information management organization; 2) information use, information needs and information seeking behavior; 3) knowledge management; and 4) ethical practices of information. It can be found that the master plan of ICT of PEA has managed the information technology to response the changes in technology, economy and society which are both of the opportunities and challenges of the organization. Moreover, the policy focuses on developing knowledge-based society. The personnel are the key mechanism to force by developing human capital and intellectual capital, making up the good relationship between staffs and the organization, and supporting the organizational learning culture and knowledge management continuously to lead the organization can maximize benefits from ICT to achieve in finance, customer care, and social and environmental sustainability.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
Copyright (c) 2018 วารสารวิชาการปทุมวัน
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 833 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร 02-104-9099